วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

ศิลปะยุคอิมเพรสชั่นนิสม์


ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ ( Impressionism ) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่สิบเก้า ซึ่งเริ่มต้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ของจิตรกรทั้งหลายที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาเริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วง ทศวรรษที่ 1860 ชื่อของขบวนการนี้มีที่มาจากภาพวาดของโคลด โมเนท์ที่มีชื่อว่า Impression , Sunrise และนักวิจารณ์ศิลปะนามว่า Louis Leroy ก็ได้ให้กำเนิดคำ ๆนี้ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจในบทวิจารณ์ศิลปะเชิงเสียดสีซึ่ง ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Le Charivari อิทธิพลของอิมเพรสชั่นนิสม์ ยังแผ่ออกจากวงการศิลปะไปยังดนตรีและ วรรณกรรม



ภาพพระอาทิตย์ขึ้นหรือ Impression, Sunrise

ของ Monet - ปีค.ศ. 1872

ลักษณะ
ลักษณะของภาพวาดแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ คือ การใช้พู่กันตระหวัดสีอย่างเข้มๆ ใช้สีสว่างๆ มีส่วนประกอบของภาพที่ไม่ถูกบีบ เน้นไปยังคุณภาพที่แปรผันของแสง (มักจะเน้นไปยังผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเวลา) เนื้อหาของภาพเป็นเรื่องธรรมดาๆ และมีมุมมองที่พิเศษ




Pierre-Auguste Renoir The Wave, 1879.


จิตรกรแนวอิมเพรสชั่นนิสม์ ได้ฉีกกรอบการวาดที่มาตั้งแต่อดีต พวกเขาจึงได้ชื่อว่าเป็นพวกขบถ พวกเขาได้วาดภาพจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในปัจจุบันให้ดูประหลาดและไม่สิ้นสุดสำหรับสาธารณชนที่มาดูงานของพวกเขานักวาดแนวนี้ปฏิเสธที่จะนำเสนอความงามในอุดมคติ และมองไปยังความงามที่เกิดจากสิ่งสามัญแทน พวกเขามักจะวาดภาพกลางแจ้ง มากกว่าในห้องสตูดิโอ อย่างที่ศิลปินทั่วไปนิยมกัน เพื่อที่จะลอกเลียนแสงที่แปร เปลี่ยนอยู่เสมอในมุมมองต่างๆ

Claude Monet เดินริมหน้าผาที่พอร์วิลล์ ค.ศ. 1882

ภาพวาดแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ ประกอบด้วยการตระหวัดพู่กันแบบเป็นเส้นสั้นๆ ของสีซึ่งไม่ได้ผสมหรือแยกเป็นสีใดสีหนึ่ง ซึ่งได้ให้ภาพที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีชีวิตชีวา พื้นผิวของภาพวาดนั้นมักจะเกิดจากการระบายสีแบบหนาๆ ซึ่งทำให้พวกเขาแตกต่างจากนักเขียนยุคเก่าที่จะเน้นการผสมผสานสีอย่างกลมกลืนเพื่อให้ผู้อื่นคิดว่ากำลังมองภาพวาดบนแผ่นแฟรมให้น้อยที่สุด องค์ประกอบของอิมเพรสชั่นนิสม์ ยังถูกทำให้ง่ายและแปลกใหม่ และจะเน้นไปยังมุมมองแบบกว้างๆ มากกว่ารายละเอียด


Édouard Manet สถานีรถไฟ แซงค์ – ลาซาร์ ค.ศ. 1873

ช่วงเริ่มต้น
ในช่วงที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของฝรั่งเศสนั่นคือจักรพรรดินโปเลียนที่สามทรงบูรณะกรุงปารีสและทำสงคราม สถาบัน Academie des Beaux –arts มีอิทธิพลต่อศิลปะของฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ สิบเก้า ศิลปะในช่วงนั้นถือว่าเป็นออกไปทางอนุรักษ์นิยมซึ่งไม่ว่าจะคิดใหม่ทำใหม่อย่างไรก็ต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำของสถาบัน

กล่าวได้ว่า Academie ได้วางมาตรฐานให้กับการวาดภาพของฝรั่งเศส นอกจากจะกำหนดเนื้อหาของภาพวาดแล้ว (ยกย่องแนวศาสนาและประวัติศาสตร์รวมไปถึงภาพเหมือนของคน) Academie ยังกำหนดเทคนิคที่ศิลปินต้องใช้ พวกเขายกย่องสีแบบทึบๆ ตามแบบเก่าๆ ยิ่งสะท้อนภาพให้เหมือนกับความจริงเท่าไรยิ่งดี Academie ยังสนับสนุนให้เหล่า จิตรกรลบร่องรอยการตระหวัดแปรง และที่สำคัญต้อง แยกศิลปะออกจากบุคลิกภาพ อารมณ์และเทคนิคการทำงานของตัวศิลปินเอง


ในปีค.ศ. 1863 คณะกรรมการได้ปฏิเสธผลงานที่ชื่อว่า “การทานอาหารเที่ยงบนสนามหญ้า” (Le dejeuner sur l’herbe)
โดย Edouard Manet เพราะว่ามันแสดงภาพผู้หญิงเปลือยนั่งอยู่ข้างๆ ผู้ชายใส่เสื้อผ้าสองคนขณะที่ทั้งสามกำลังไปปิกนิกกัน ตามความเห็นของคณะกรรมการ ภาพเปลือยนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้ในภาพวาดเชิงประวัติศาสตร์และเชิงสัญลักษณ์แต่จะมาแสดงกันผ่านภาพธรรมดาดาดๆ เช่นนี้ถือว่าต้องห้าม


“การทานอาหารเที่ยงบนสนามหญ้า” ของมาเนต์-ปีค.ศ. 1863


ภายหลังจากที่พระเจ้านโปเลียนที่สามได้ทอดพระเนตรงานหลายชิ้นที่ถูกปฏิเสธ ก็ทรงออกกฎหมายว่าสาธารณ ชนมีสิทธิ์ในการตัดสินงานศิลปะด้วยตัวเอง งานแสดงภาพ Salon des Refues (งานแสดงภาพที่ถูกปฏิเสธ) จึงถูกจัดขึ้น แต่ถูกนักวิจารณ์ศิลปะโจมตีอย่างมากเป็นเวลาหลายปี และในปี 1874 นั่นเอง พวกศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ ก็ได้จัดงานแสดงภาพวาดของตัวเอง ภายหลังจากที่ไปร่วมงานแสดง นักวิจารณ์นามว่า Louis Leroy ได้เขียนบทวิจารณ์ ภาพวาดที่ชื่อว่า Impression ,Sunrise ของโมเนต์อย่างมากสุดก็เป็นแค่ภาพร่างแบบลวกๆ จะให้เรียกว่าเป็นผลงานที่ สมบูรณ์แล้วก็อย่าหวังเลย ซึ่งนั่นเป็นที่มาของคำว่าศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ที่ใช้กันในเวลาต่อมา
ในช่วงนั้นภาพถ่ายก็กำลังเป็นที่นิยม ภาพถ่ายก็เป็นแรงบันดาลใจให้พวกศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ บันทึกไม่ใช่เฉพาะแสงที่มาตกกระทบต่อภูมิประเทศเท่านั้นหากแต่เป็นชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ภาพถ่ายและภาพพิมพ์แบบญี่ปุ่นหรือ Japonism ผสมผสานกันกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้พวกศิลปินImpressionism ค้นคิดวิธีแบบใหม่และใช้มุมมองของภาพที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว




ภาพพิมพ์ญี่ปุ่นจุดเริ่มในการสร้างอิทธิพลในงานให้กับศิลปินกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสม์(Impressionism)




นอกจากความประทับใจเรื่องของชิ้นงานแล้ว งานภาพพิมพ์ของญี่ปุ่น ยังมีอิทธิพลต่อการสร้างผลงานของจิตรกรในยุคนี้อีกด้วย เช่น การตัดเส้นดำซึ่งเป็นเป็นจุดเด่นของภาพพิมพ์ญี่ปุ่นก็อิทธิพลในงานจิตรกรรมของมาเน่ต์การใช้เส้นบางไม่กี่เส้นและเป็นเส้นที่ให้ความรู้สึกละเอียดอ่อนทางอารมณ์มาก เส้นเหล่านี้ปรากฏในภาพของตัวละคร นักดนตรี เกอิชา



ภาพพิมพ์ของ คัตสุชิกะ โฮกูไซ (Katsushika Hokusai) เป็นภาพลายเส้น ที่วางขายในปารีส ในศตวรรษที่ 1850 ซึ่งศิลปินอมเพรสชันนิสม์ทุกคนต่างเคยศึกษา และมีอิทธิพลต่องานของพวกเขาแทบทุกคน



ภาพวาดของ Edgar Degas ที่ชื่อว่า La classe de danse หรือชั้นเรียนเต้นรำแสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลทั้งสองด้าน หนึ่งในนั้นเป็นภาพนักเต้นรำกำลังจัดชุดของหล่อน






โคลงโลกนิติ

โคลงโลกนิติ






๑. อัญขยมบรมนเรศร์เรื้อง .............. รามวงศ์

พระผ่านแผ่นไผทรง .............. สิบไท้

แสวงยิ่งสิ่งสดับองค์ .............. โอวาท

หวังประชาชนให้ .............. อ่านแจ้งคำโคลง


๒. ครรโลงโลกนิตินี้ .............. นมนาน

มีแต่โบราณกาล .............. เก่าพร้อง

เป็นสุภาษิตสาร .............. สอนจิต

กลดั่งสร้อยสอดคล้อง .............. เวี่ยไว้ในกรรณ


๓. ปลาร้าพันห่อด้วย .............. ใบคา

ใบก็เหม็นคาวปลา .............. คละคลุ้ง

คือคนหมู่ไปหา .............. คบเพื่อน พาลนา

ได้แต่รายร้ายฟุ้ง .............. เฟื่องให้เสียพงศ์


๔. ใบพ้อพันห่อหุ้ม .............. กฤษณา

หอมระรวยรสพา .............. เพริศด้วย

คือคนเสพเสน่หา .............. นักปราชญ์

ความสุขซาบฤาม้วย .............. ดุจไม้กลิ่นหอม


๕. ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้ .............. มีพรรณ

ภายนอกแดงดูฉัน .............. ชาดป้าย

ภายในย่อมแมลงวัน .............. หนอนบ่อน

ดุจดั่งคนใจร้าย .............. นอกนั้นดูงาม


๖. ขนุนสุกสล้างแห่ง .............. สาขา

ภายนอกเห็นหนามหนา .............. หนั่นแท้

ภายในย่อมรสา .............. เอมโอช

สาธุชนนั่นแล้ .............. เลิศด้วยดวงใจ


๗. คนพาลผู้บาปแท้ .............. ทุรจิต

ไปสู่หาบัณฑิต .............. ค่ำเช้า

ฟังธรรมอยู่เนืองนิตย์ .............. บ่ซาบ

ใจนา คือจวักตักข้าว .............. ห่อนรู้รสแกง


๘. กบเกิดในสระได้ .............. บัวบาน

ฤาห่อนรู้รสมาลย์ .............. หนึ่งน้อย

ภุมราอยู่ไกลสถาน .............. นับโยชน์ ก็ดี

บินโบกมาค้อยค้อย .............. เกลือกเคล้าเสาวคนธ์


๙. ไม้ค้อมมีลูกน้อม .............. นวยงาม

คือสัปปุรุษสอนตาม .............. ง่ายแท้

ไม้ผุดั่งคนทราม .............. สอนยาก

ดัดก็หักแหลกแล้ .............. ห่อนเรื้อโดยตาม


๑๐. นาคีมีพิษเพี้ยง .............. สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช .............. แช่มช้า

พิษน้อยหยิ่งโยโส .............. แมลงป่อง

ชูแต่หางเองอ้า .............. อวดอ้างฤทธี


๑๑. ความรู้ผู้ปราชญ์นั้น .............. รักเรียน

ฝนทั่งเท่าเข็มเพียร .............. ผ่ายหน้า

คนเกียจเกลียดหน่ายเรียน .............. วนจิต

กลอุทกในตระกร้า .............. เปี่ยมล้น ฤามี


๑๒. ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ .............. มีควัน

ห้ามสุริยแสงจันทร์ .............. ส่องไซร้

ห้ามอายุให้หัน .............. คืนเล่า

ห้ามดั่งนี้ไว้ได้ .............. จึ่งห้าม นินทา


๑๓. เว้นวิจารณ์ว่างเว้น .............. สดับฟัง

เว้นที่ถามอันยัง .............. ไป่รู้

เว้นเล่าลิขิตสัง .............. เกตว่าง เว้นนา

เว้นดั่งกล่าวว่าผู้ .............. ปราชญ์ได้ ฤามี


๑๔. รู้น้อยว่ามากรู้ .............. เริงใจ

กลกบเกิดอยู่ใน .............. สระจ้อย

ไปเห็นชเลไกล .............. กลางสมุทร

ชมว่าน้ำบ่อน้อย .............. มากล้น ลึกเหลือ


๑๕. เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ .............. วงศ์หงส์

เสียศักดิ์สู้ประสงค์ .............. สิ่งรู้

เสียรู้เร่งดำรง .............. ความสัตย์

ไว้นา เสียสัตย์อย่าเสียสู้ .............. ชีพม้วย มรณา


๑๖. พระสมุทรสุดลึกล้น .............. คณนา

สายติ่งทิ้งทอดมา .............. หยั่งได้

เขาสูงอาจวัดวา .............. กำหนด

จิตมนุษย์นี้ไซร้ .............. ยากแท้ หยั่งถึง






๑๗. รักกันอยู่ขอบฟ้า .............. เขาเขียว

เสมออยู่หอแห่งเดียว .............. ร่วมห้อง

ชังกันบ่แลเหลียว .............. ตาต่อ กันนา

เหมือนขอบฟ้ามาป้อง .............. ป่าไม้ มาบัง


๑๘. ให้ท่านท่านจักให้ .............. ตอบสนอง

นบท่านท่านจักปอง .............. นอบไหว้

รักท่านท่านควรครอง .............. ความรัก เรานา

สามสิ่งนี้เว้นไว้ .............. แต่ผู้ทรชน


๑๙. ใครจักผูกโลกแม้ .............. รัดรึง

เหล็กเท่าลำตาลตรึง .............. ไป่หมั้น

มนต์ยาถูกนานหึง .............. หายเสื่อม

ผูกเพื่อไมตรีนั้น .............. แนบเท้าวันตาย


๒๐. ผจญคนมักโกรธด้วย .............. ไมตรี

ผจญหมู่ทรชนดี .............. ต่อตั้ง

ผจญคนจิตโลภมี .............. ทรัพย์เผื่อ

แผ่นา ผจญคนอสัตย์ให้ยั้ง .............. หยุดด้วย สัตยา


๒๑. คนใดคนหนึ่งผู้ .............. ใจฉกรรจ์

เคียดฆ่าคนอนันต์ .............. หนักแท้

ไป่ปานบุรุษอัน .............. ผจญจิต เองนา

เธียรท่านเยินยอแล้ .............. ว่าผู้ มีชัย


๒๒. ความรู้ดูยิ่งล้ำ .............. สินทรัพย์

คิดค่าควรเมืองนับ .............. ยิ่งไซร้

เพราะเหตุจักอยู่กับ .............. กายอาต มานา

โจรจักเบียนบ่ได้ .............. เร่งรู้ เรียนเอา


๒๓. โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง .............. เมล็ดงา

ปองติฉินนินทา .............. ห่อนเว้น

โทษตนเท่าภูผา .............. หนักยิ่ง

ป้องปิดคิดซ่อนเร้น .............. เรื่องร้าย หายสูญ


๒๔. หอมกลิ่นดอกไม้ที่ .............. นับถือ

หอมแต่ตามลมฤา .............. กลับย้อน

หอมแห่งกลิ่นกล่าวคือ .............. ศีลสัตย์ นี้นา

หอมสุดหอมสะท้อน .............. ทั่วใกล้ ไกลถึง


๒๕. ก้านบัวบอกลึกตื้น .............. ชลธาร

มรรยาทส่อสันดาน .............. ชาติเชื้อ

โฉดฉลาดเพราะคำขาน .............. ควรทราบ

หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ .............. บอกร้าย แสลงดิน


๒๖. ถึงจนทนกัดก้อน .............. กินเกลือ

อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ .............. พวกพ้อง

อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ .............. สงวนศักดิ์

โซก็เสาะใส่ท้อง .............. จับเนื้อ กินเอง


๒๗. โคควายวายชีพได้ .............. เขาหนัง

เป็นสิ่งเป็นอันยัง .............. อยู่ไซร้

คนเด็ดดับสูญสัง .............. ขารร่าง

เป็นชื่อเป็นเสียงได้ .............. แต่ร้าย กับดี


๒๘. อ่อนหวานมานมิตรล้น .............. เหลือหลาย

หยาบบ่มีเกลอกราย .............. เกลื่อนใกล้

ดุจดวงศศิฉาย .............. ดาวดาษ ประดับนา
สุริยส่องดาราไร้ .............. เพื่อร้อนแรงแสง


๒๙. เพื่อนกิน ... สิ้นทรัพย์แล้ว .............. แหนงหนี

หาง่าย ... หลายหมื่นมี .............. มากได้

เพื่อนตาย ... ถ่ายหมื่นมี .............. วาอาตม์

หายาก ... ฝากผีฝากไข้ .............. ยากแท้จักหา








วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

new video

Point of Authority

Extrem sport -skate

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ศิลปินสมัยฟื้นฟูวิทยาการ




เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci)



เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาค นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ. ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ าราศาสตร์ รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น เลโอนาร์โด เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน โดยที่ที่เขาเกิดอยู่ห่างจากหมู่บ้านวินชี ในประเทศอิตาลี ไปราวสองกิโลเมตร บิดาชื่อนายแซร์ ปีเอโร ดา วินชี เป็นเจ้าพนักงานรับรองเอกสารของรัฐ มารดาชื่อคาตารีนา เป็นสาวชาวนา เคยมีคนอ้างว่านางคาตารีนาเป็นทาสสาวจากประเทศแถบตะวันออกในครอบครองของปีเอโร แต่ก็ไม่มีหลักฐานเด่นชัด ในสมัยนั้นยังไม่มีมาตรฐานการเรียกชื่อและนามสกุลที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป ทำให้ชื่อและนามสกุลของดา วินชี ที่แท้จริงคือ เลโอนาร์โด ดิ แซร์ ปีเอโร ดา วินชี ซึ่งหมายความว่า เลโอนาร์โด บุตรชายของปีเอโร แห่ง วินชี แต่เลโอนาร์โดเองก็มักจะลงลายเซ็นในงานของเขาอย่างง่ายๆว่า เลโอนาร์โด หรือไม่ก็ ข้าเอง เลโอนาร์โด เอกสารสำคัญส่วนใหญ่ระบุว่าผลงานของเขาเป็นของ เลโอนาร์โด โดยไม่มี ดา วินชี พ่วงท้าย ทำให้เข้าใจได้ว่าเขาไม่ได้ใช้นามสกุลของบิดาเนื่องจากเป็นบุตรนอกสมรสนั่นเอง






ราฟาเอล (Raffaello Sanzio)


(อิตาลี: Raffaello Sanzio, อังกฤษ: Raphael, พ.ศ. 2026-2063) มีชื่อเต็มว่า “ราฟาเอลโล ซันซิโอ” เป็นจิตรกรชาวอิตาลีที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีอายุน้อยกว่าเลโอนาร์โด ดา วินชี 31 ปีและอ่อนกว่ามีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี 8 ปี เมื่อ พ.ศ. 2051 ราฟาเอลได้เดินทางไปยังเมืองฟลอเรนซ์เพื่อศึกษางานของเลโอนาร์โด ดา วินชีและของ มีเกลันเจโล ต่อมาในปี พ.ศ. 2055 ได้ไปอยู่ที่กรุงโรมและพากเพียรเขียนภาพเพื่อให้ทัดเทียมกับศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองท่านที่เขายกย่อง ราฟาเอลได้เขียนจิตรกรรมฝาผนังหลายชิ้นในนครวาติกัน ซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานขั้นสูงสุดในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาที่สามารถรวมเอาความสงบนิ่งไว้กับความสมดุลได้อย่างกลมกลืน ราฟาเอลได้รับการแต่งตั้งเป็นสถาปนิกผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในปี พ.ศ. 2057 และมีส่วนในการวางผังเมืองกรุงโรม งานจิตรกรรมของราฟาเอลในระยะหลังมีความเรียบง่ายและมีความใหญ่โตมากขึ้น แต่ยังคงรักษาความมีชีวิตชีวาของงานยุคต้นของตนเองไว้ได้ งานของราฟาเอลที่แสดงถึงความงามของผู้หญิงนับได้ว่าเป็นผลงานที่มีอิทธิพลต่อศิลปินกลุ่ม สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกโรมัน (Neo-Classical architecture) เป็นอย่างมาก ราฟาเอลมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับเจ้าผู้ครองนครและพระสันตปาปามากในช่วงปลายของชีวิต น่าเสียดายที่ราฟาเอลเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 37 ปี ศพของราฟาเอลได้รับการฝังไว้ที่มหาวิหารแพนเธอนอนในกรุงโรมโดยพระบัญชาของพระสันตะปาปาปาลีโอที่ 10 ราฟาเอลมีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยระหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2แห่งสมัยกรุงศรีอยุธยา



มีเกลันเจโล หรือชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บัวนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni)

เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดังชาวอิตาลีศิลปินที่เข้าถึง 3 ศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก เขาไม่เป็นเพียงผู้ที่เข้าถึงแต่เพียงศาสตร์ด้านวิจิตรศิลป์ แต่เขายังเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรม และประติมากรรมอีกด้วย เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 1475 และเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ ภายหลังเป็นผู้สร้างประติมากรรมหินอ่อนชื่อกระฉ่อนโลกนามว่า เดวิด (David)
หลังจากที่ไปอยู่ที่
กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโล สร้างประติมากรรมรูปเดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมันนั่นเอง ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโลเดิมทีเป็นคนที่เกลียด เลโอนาโด ดาวินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก (คล้ายกับ "การที่เสือสองตัวอยู่ในถ้ำเดียวกันไม่ได้") ในช่วงนี้ (1497-1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter's Basilica) ที่กรุงโรม
ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับ พระสันตะปาปาจูเลียส ที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี 1545 ต่อมาในปี 1546 เขาเป็น
สถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม
เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะ The Last Judgement (Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี
มีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี เสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 90 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจาก พระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของ มิเกลันเจโล ให้ยืนยาวออกไปอีก"

renaissance art


The School of Athens
Raffaello Sanzio


David
Miclelangelo






Pietà
Michelangelo





The last supper
Leonarde da Vinci


Mona Lisa
Leonarde da Vinci

ศิลปะยุคพื้นฟูวิทยาการ


ศิลปกรรมตะวันตกสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยากร (Renaissance Art)
สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยากร เป็นช่วงสมัยที่สำคัญที่สุดสมัยหนึ่งของอารยธรรมตะวันตก มีจุดศูนย์กลางที่อิตาลีอยู่ระหว่างคริสตศตวรรษที่ 15-17 การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเป็นผลสะท้อนจากการย้อนกลับไปศึกษาศิลปะวิทยาการสมัยกรีกโรมันที่มีห่างจากสมัยดังกล่าวกว่า 1,000 กว่าปี จึงเรียกยุคสมัยนี้ว่า สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยากร หรือ เรอนาซอง (Renaissance) ลักษณะรูปแบบศิลปะสมัยเรอนาซองยังคงเป็นอีกแบบอผนหนึ่งที่ได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
สถาปัตยกรรม

ลักษณะจะเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์กับกอธิคอย่างเห็นได้ชัด เช่น สถาปัตยกรรมในวัดแห่งเมืองฟอเรนซ์ มีลักษณะเป็นโครงสร้างโดมโค้งบรรจบกันเป็นยอดโดมสูง
ประติมากรรม

ลักษณะรูปแบบประติมากรรมจะมุ่งเข้าสู่ลักษณะที่เหมือนจริง โดยประติมากรรมพยายามศึกษากายวิภาคศาสตร์อย่างแตกฉาน และให้ความเคารพหลักวิชาประติมากรรมโดยใช้ทฤษฎีการสร้างสรรค์ตามแนวทางของกรีก - โรมัน มีการเน้นลีลาท่าทางให้มีความงดงามและตอบสนองความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกศิลปินได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาจากสมัยกรีก - โรมันที่เป็นภาพเทพในศาสนนิยายในยุคนั้น
จิตรกรรม

ลักษณะรูปแบบศิลปะที่สำคัญเป็นการพัฒนาผลงานสืบต่อจากปลายคริสตศตวรรษที่ 13 โดยศิลปินแต่ละคนได้พัฒนาผลงานของตนอย่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนค่อนข้างเด่นชัด ทั้งในด้านการจัดภาพ เทคนิคการระบายสี การจัดการกับทัศนธาตุทางทัศนศิลป์อย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น จิตรกรที่สำคัญในสมัยนี้คือบอตติเชลลี จิตรกรในสกุลช่างฟอเรนซ์ที่มีความโดดเด่นในผลงานด้านการผสานโลกแห่งจินตนาการอันละเอียกอ่อน เพื่อสำแดงเรื่องราวที่ปรากฏในศาสนนิยายาและกวีนิพนธ์ บนพื้นฐานความถูกต้องตามหลักกายวิภาคได้อย่างลงตัว อาทิ ภาพการกำเนิดวีนัส หรือ The Birth of Venus ซึ่งเขาเขียนขึ้นด้วยสีฝุ่นบนผืนผ้าใบในปี ค.ศ. 1480