วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

ศิลปะยุคอิมเพรสชั่นนิสม์


ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ ( Impressionism ) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่สิบเก้า ซึ่งเริ่มต้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ของจิตรกรทั้งหลายที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาเริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วง ทศวรรษที่ 1860 ชื่อของขบวนการนี้มีที่มาจากภาพวาดของโคลด โมเนท์ที่มีชื่อว่า Impression , Sunrise และนักวิจารณ์ศิลปะนามว่า Louis Leroy ก็ได้ให้กำเนิดคำ ๆนี้ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจในบทวิจารณ์ศิลปะเชิงเสียดสีซึ่ง ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Le Charivari อิทธิพลของอิมเพรสชั่นนิสม์ ยังแผ่ออกจากวงการศิลปะไปยังดนตรีและ วรรณกรรม



ภาพพระอาทิตย์ขึ้นหรือ Impression, Sunrise

ของ Monet - ปีค.ศ. 1872

ลักษณะ
ลักษณะของภาพวาดแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ คือ การใช้พู่กันตระหวัดสีอย่างเข้มๆ ใช้สีสว่างๆ มีส่วนประกอบของภาพที่ไม่ถูกบีบ เน้นไปยังคุณภาพที่แปรผันของแสง (มักจะเน้นไปยังผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเวลา) เนื้อหาของภาพเป็นเรื่องธรรมดาๆ และมีมุมมองที่พิเศษ




Pierre-Auguste Renoir The Wave, 1879.


จิตรกรแนวอิมเพรสชั่นนิสม์ ได้ฉีกกรอบการวาดที่มาตั้งแต่อดีต พวกเขาจึงได้ชื่อว่าเป็นพวกขบถ พวกเขาได้วาดภาพจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในปัจจุบันให้ดูประหลาดและไม่สิ้นสุดสำหรับสาธารณชนที่มาดูงานของพวกเขานักวาดแนวนี้ปฏิเสธที่จะนำเสนอความงามในอุดมคติ และมองไปยังความงามที่เกิดจากสิ่งสามัญแทน พวกเขามักจะวาดภาพกลางแจ้ง มากกว่าในห้องสตูดิโอ อย่างที่ศิลปินทั่วไปนิยมกัน เพื่อที่จะลอกเลียนแสงที่แปร เปลี่ยนอยู่เสมอในมุมมองต่างๆ

Claude Monet เดินริมหน้าผาที่พอร์วิลล์ ค.ศ. 1882

ภาพวาดแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ ประกอบด้วยการตระหวัดพู่กันแบบเป็นเส้นสั้นๆ ของสีซึ่งไม่ได้ผสมหรือแยกเป็นสีใดสีหนึ่ง ซึ่งได้ให้ภาพที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีชีวิตชีวา พื้นผิวของภาพวาดนั้นมักจะเกิดจากการระบายสีแบบหนาๆ ซึ่งทำให้พวกเขาแตกต่างจากนักเขียนยุคเก่าที่จะเน้นการผสมผสานสีอย่างกลมกลืนเพื่อให้ผู้อื่นคิดว่ากำลังมองภาพวาดบนแผ่นแฟรมให้น้อยที่สุด องค์ประกอบของอิมเพรสชั่นนิสม์ ยังถูกทำให้ง่ายและแปลกใหม่ และจะเน้นไปยังมุมมองแบบกว้างๆ มากกว่ารายละเอียด


Édouard Manet สถานีรถไฟ แซงค์ – ลาซาร์ ค.ศ. 1873

ช่วงเริ่มต้น
ในช่วงที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของฝรั่งเศสนั่นคือจักรพรรดินโปเลียนที่สามทรงบูรณะกรุงปารีสและทำสงคราม สถาบัน Academie des Beaux –arts มีอิทธิพลต่อศิลปะของฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ สิบเก้า ศิลปะในช่วงนั้นถือว่าเป็นออกไปทางอนุรักษ์นิยมซึ่งไม่ว่าจะคิดใหม่ทำใหม่อย่างไรก็ต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำของสถาบัน

กล่าวได้ว่า Academie ได้วางมาตรฐานให้กับการวาดภาพของฝรั่งเศส นอกจากจะกำหนดเนื้อหาของภาพวาดแล้ว (ยกย่องแนวศาสนาและประวัติศาสตร์รวมไปถึงภาพเหมือนของคน) Academie ยังกำหนดเทคนิคที่ศิลปินต้องใช้ พวกเขายกย่องสีแบบทึบๆ ตามแบบเก่าๆ ยิ่งสะท้อนภาพให้เหมือนกับความจริงเท่าไรยิ่งดี Academie ยังสนับสนุนให้เหล่า จิตรกรลบร่องรอยการตระหวัดแปรง และที่สำคัญต้อง แยกศิลปะออกจากบุคลิกภาพ อารมณ์และเทคนิคการทำงานของตัวศิลปินเอง


ในปีค.ศ. 1863 คณะกรรมการได้ปฏิเสธผลงานที่ชื่อว่า “การทานอาหารเที่ยงบนสนามหญ้า” (Le dejeuner sur l’herbe)
โดย Edouard Manet เพราะว่ามันแสดงภาพผู้หญิงเปลือยนั่งอยู่ข้างๆ ผู้ชายใส่เสื้อผ้าสองคนขณะที่ทั้งสามกำลังไปปิกนิกกัน ตามความเห็นของคณะกรรมการ ภาพเปลือยนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้ในภาพวาดเชิงประวัติศาสตร์และเชิงสัญลักษณ์แต่จะมาแสดงกันผ่านภาพธรรมดาดาดๆ เช่นนี้ถือว่าต้องห้าม


“การทานอาหารเที่ยงบนสนามหญ้า” ของมาเนต์-ปีค.ศ. 1863


ภายหลังจากที่พระเจ้านโปเลียนที่สามได้ทอดพระเนตรงานหลายชิ้นที่ถูกปฏิเสธ ก็ทรงออกกฎหมายว่าสาธารณ ชนมีสิทธิ์ในการตัดสินงานศิลปะด้วยตัวเอง งานแสดงภาพ Salon des Refues (งานแสดงภาพที่ถูกปฏิเสธ) จึงถูกจัดขึ้น แต่ถูกนักวิจารณ์ศิลปะโจมตีอย่างมากเป็นเวลาหลายปี และในปี 1874 นั่นเอง พวกศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ ก็ได้จัดงานแสดงภาพวาดของตัวเอง ภายหลังจากที่ไปร่วมงานแสดง นักวิจารณ์นามว่า Louis Leroy ได้เขียนบทวิจารณ์ ภาพวาดที่ชื่อว่า Impression ,Sunrise ของโมเนต์อย่างมากสุดก็เป็นแค่ภาพร่างแบบลวกๆ จะให้เรียกว่าเป็นผลงานที่ สมบูรณ์แล้วก็อย่าหวังเลย ซึ่งนั่นเป็นที่มาของคำว่าศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ที่ใช้กันในเวลาต่อมา
ในช่วงนั้นภาพถ่ายก็กำลังเป็นที่นิยม ภาพถ่ายก็เป็นแรงบันดาลใจให้พวกศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ บันทึกไม่ใช่เฉพาะแสงที่มาตกกระทบต่อภูมิประเทศเท่านั้นหากแต่เป็นชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ภาพถ่ายและภาพพิมพ์แบบญี่ปุ่นหรือ Japonism ผสมผสานกันกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้พวกศิลปินImpressionism ค้นคิดวิธีแบบใหม่และใช้มุมมองของภาพที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว




ภาพพิมพ์ญี่ปุ่นจุดเริ่มในการสร้างอิทธิพลในงานให้กับศิลปินกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสม์(Impressionism)




นอกจากความประทับใจเรื่องของชิ้นงานแล้ว งานภาพพิมพ์ของญี่ปุ่น ยังมีอิทธิพลต่อการสร้างผลงานของจิตรกรในยุคนี้อีกด้วย เช่น การตัดเส้นดำซึ่งเป็นเป็นจุดเด่นของภาพพิมพ์ญี่ปุ่นก็อิทธิพลในงานจิตรกรรมของมาเน่ต์การใช้เส้นบางไม่กี่เส้นและเป็นเส้นที่ให้ความรู้สึกละเอียดอ่อนทางอารมณ์มาก เส้นเหล่านี้ปรากฏในภาพของตัวละคร นักดนตรี เกอิชา



ภาพพิมพ์ของ คัตสุชิกะ โฮกูไซ (Katsushika Hokusai) เป็นภาพลายเส้น ที่วางขายในปารีส ในศตวรรษที่ 1850 ซึ่งศิลปินอมเพรสชันนิสม์ทุกคนต่างเคยศึกษา และมีอิทธิพลต่องานของพวกเขาแทบทุกคน



ภาพวาดของ Edgar Degas ที่ชื่อว่า La classe de danse หรือชั้นเรียนเต้นรำแสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลทั้งสองด้าน หนึ่งในนั้นเป็นภาพนักเต้นรำกำลังจัดชุดของหล่อน






1 ความคิดเห็น: